เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "การวัด"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหน่วยการวัดต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดต่างๆได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการวัด และสร้างโจทย์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม

week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 7: นักเรียนมีความรู้สึกเชิงขนาดในการคาดคะเน และสามารถเปรียบเทียบหน่วยพื้นที่ต่างๆที่พบเจอใช้ชีวิตประจำวันของตนเองสามารถคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่โดยใช้กระบวนการคิดที่หลากหลายในการให้เหตุผลเพื่อสื่อสารและนำเสนอ ตลอดจนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
7
8–12
..
2557
โจทย์: การหาพื้นที่
คำถาม
- รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามารถหาพื้นที่ได้อย่างไร?
-รูปสามเหลี่ยมสามารถหาพื้นที่ได้อย่างไร?
- รูปเรขาคณิตประยุกต์รูปนี้สามารถหาพื้นที่ได้อย่างไร?
- สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมีพื้นที่ 32 ตารางเซนติ เมตรถ้าแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองรูปเท่าๆกันจะได้รูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดอย่างไร?
- นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวพื้นที่อย่างไร
?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Wall Thinking
ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู(ผู้สร้างการเรียนรู้)
- นักเรียน(ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
                         วันจันทร์
ชง ครูพูดทักทายนักเรียน และทบทวนการหาพื้นที่ร่วมกัน
โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามารถหาพื้นที่ได้อย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคิดผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามความเข้าใจของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และวิธีคิดให้เพื่อนและครูฟัง
                        วันอังคาร

ชง ครูและนักเรียนทบทวนการหาพื้นที่ร่วมกันโดยใช้คำถามกระตุ้นการคิด “
รูปสามเหลี่ยมสามารถหาพื้นที่ได้อย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคิดผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมตามความเข้าใจของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และวิธีคิดให้เพื่อนและครูฟัง
                                        วันพุธ
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รูปเรขาคณิตประยุกต์รูปนี้สามารถหาพื้นที่ได้อย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคิดผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนหาพื้นที่ของรูปเรขาประยุกต์ตามความเข้าใจของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และวิธีคิดให้เพื่อนและครูฟัง
                      วันพฤหัสบดี
ชง ในชั่วโมงต่อมาครูกระตุ้นด้วยโจทย์ปัญหาต่อ “สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมีพื้นที่ 32 ตารางเซนติ เมตรถ้าแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองรูปเท่าๆกันจะได้รูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดอย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด(
Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนทำโจทย์ใหม่ลงในสมุดตามความเข้าใจของตนเอง
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน และวิธีคิดให้เพื่อนและครูฟัง
                          วันศุกร์
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกระบวนการคิดเพื่อได้มาซึ่งคำตอบผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวพื้นที่
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นเองลงในกระดาษ
A4
แล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เมื่อเสร็จแล้วนำสมุดมาอธิบายวิธีคิดของตนเองกับครู
ชิ้นงาน
- โจทย์ปัญหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม
- โจทย์ปัญหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
- โจทย์ปัญหาพื้นที่รูปประยุกต์
ภาระงาน
 - แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ
การหาพื้นที่
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคิดเพื่อหาคำตอบที่หลากหลาย
- นำเสนอชิ้นงาน
ความรู้:
- การเปรียบเทียบหน่วยพื้นที่
- การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม
- การหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
- การหาพื้นที่รูปประยุกต์
- กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาพื้นที่
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ และคุณครูได้
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีเคารพสิทธิซึ่งกัน
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
- สามารถคิดเชื่อมโยงหน่วยพื้นที่ต่างๆในการเรียนรู้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการกับโจทย์ปัญหาแล้วถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองผ่านชิ้นงานได้
- มีความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และรูปประยุกต์ได้
- สามารถให้เหตุผลในการทำงานและชิ้นงาน

ทักษะการสื่อสาร
สามารถสื่อสารและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้เพื่อนและครูได้
คุณลักษณะ:
- เคารพสิทธิหน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมกิจกรรมและทำงานจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ต่อ โดยครูใช้เกมการหาเส้นรอบรูปแปลงปลูกผักรูปสี่เหลี่ยมต่างๆ ซึ่งเมื่อนักเรียนวัดความยาวรอบรูจะเห็นได้ว่าทุกรูปมีความยาวของเส้นรอบรูปเท่าๆกัน แต่เมื่อติดกระดาษตารางเซนติเมตรลงไปจะเห็นว่าพื้นที่ของแต่ละรูปไม่เท่ากัน ยิ่งมีขนาดกลายสี่เหลี่ยมจัตรัสมากเท่าไรยิ่งมีพื้นที่มาก และนักเรียนสามารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นรอบรูปเท่ากับรูปที่มีแต่มีรูปร่างที่ไม่เหมือนกันได้คือขนาด 2x8 ซม. จากนั้นครูและนักเรียนหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับสี่เหลี่ยมตารางเซนติเมตรที่ติดเพื่อหาพื้นที่จนได้วิธีที่ง่ายคือนำความกว้างมาxกับความยาว หรือความยาวมาxกับความกว้าง
    ในชั่วโมงต่อมาครูให้นักเรียนเล่นเกมเพนโทนิโน โดยนำรูปสี่เหลี่ยมตารางเซนติเมตรมาจัดวางเรียงโดยใช้ด้านต่อกันให้ได้ 12 รูปแบบที่ไม่ซ้ำ นักเรียนสนุกกับการเล่นเกมและสามารถหารูปแบบที่ไม่ซ้ำจนสำเรี็จค่ะ ในชั่วโมงต่อมาครูให้นักเรียนคาดเดารูปคลี่ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ จากนั้นให้นักเรียนลองประกอบเป็นรูปทรงจริง ๆ กว่าจะเสร็จเรียนบร้อยทั้งแปดชิ้นนักเรียนใช้เวลาในการทำถึง 2 ชั่วโมงเต็มโดยมีเพื่อนๆที่ทำงานเสร็จคอยช่วยเพื่อนทุกคนอีกครั้ง เมื่อเสร็จสมบูรณ์ในชั่วโมงถัดมาครูให้นักเรียนลองใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาคือการหาพื้นที่ผิวของรูปทรงที่สี่รูปแบบลงในสมุด นักเรียนสามารถหารูปทรงสี่เหลี่ยมได้ ส่วนรูปทรงพีระมิตกับรูปทรงสามเหลี่ยมต้องใช้เวลาหน่อยในการหาต้องเทียบกับรูปสี่เหลี่ยมก่อหาพื้นที่แต่ละหน้าของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งครูก็พอใจมากกับความพยายามในการหาพื้นที่ผิวรูปทรงครั้งแรกของพี่ๆป.4 ค่ะ

    ตอบลบ