เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "การวัด"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหน่วยการวัดต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดต่างๆได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการวัด และสร้างโจทย์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม

week3



เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3: นักเรียนมีความรู้สึกเชิงขนาดในการคาดคะเน และสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดความต่างๆที่พบเจอใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง และสามารถคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวโดยใช้กระบวนการคิดที่หลากหลายในการให้เหตุผลเพื่อสื่อสารและนำเสนอ ตลอดจนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
3
10–14
..
2557
โจทย์: การวัดความยาว
คำถาม
- วันแรกเทศบาลซ่อมถนนได้ 2 กม.600.วันที่สองซ่อมได้อีก3กม.400.รวมสองวันเทศบาลซ่อมถนนได้ระยะทางเท่าไร?
- วันแรกสุธีเดินทางได้ 2 กม.700.วันที่สองเดินทางได้ 3กม.600. วันที่สองสุธีเดินทางได้มากกว่าวันแรกเท่าไร?
- ช่างก่อสร้างทำรั่วได้ยาววันละ 2 . 80 ซม.ในเวลา 3 วัน ช่างก่อสร้าง
ทำรั่วได้ยาวเท่าไร
?
- เชือกเส้นหนึ่งยาว 7 . 50 ซม. ตัดแบ่งเป็น 5 เส้นเท่าๆกันจะได้เชือกยาวเส้นละเท่าไร?
- นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวการวัดความยาวอย่างไร
?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Wall Thinking
ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู(ผู้สร้างการเรียนรู้)
- นักเรียน(ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
                         วันจันทร์
ชง
- ครูพูดทักทายนักเรียน และทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
วันแรกเทศบาลซ่อมถนนได้ 2 กม.600.วันที่สองซ่อมได้อีก3กม.400.รวมสองวันเทศบาลซ่อมถนนได้ระยะทางเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                        วันอังคาร
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “วันแรกสุธีเดินทางได้ 2 กม.700.วันที่สองเดินทางได้ 3กม.600. วันที่สองสุธีเดินทางได้มากกว่าวันแรกเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                                 วันพุธ
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ช่างก่อสร้างทำรั่วได้ยาววันละ 2 . 80 ซม.ในเวลา 3 วัน ช่างก่อสร้าง
ทำรั่วได้ยาวเท่าไร

เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                      วันพฤหัสบดี
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
เชือกเส้นหนึ่งยาว 7 . 50 ซม. ตัดแบ่งเป็น 5 เส้นเท่าๆกันจะได้เชือกยาวเส้นละเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                         วันศุกร์
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวการวัดความยาวอย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นเองลงในกระดาษ
A4
แล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เมื่อเสร็จแล้วนำสมุดมาอธิบายวิธีคิดของตนเองกับครู
ชิ้นงาน
- แบบฝึกหัดเกี่ยวกับการวัดความยาว
- โจทย์ปัญหาใหม่เกี่ยวกับการวัดความยาว
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา และสร้างโจทย์ปัญหา
- ลงมือทำชิ้นงาน


ความรู้:
- การเปรียบเทียบหน่วยการวัดความยาวต่างๆ
- กระบวนการคิดที่หลากหลายในการแก้โจทย์ปัญหาการวัดความยาว
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมกับ
เพื่อนๆ และคุณครูได้
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีเคารพสิทธิซึ่งกัน
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
- สามารถคิดเชื่อมโยงหน่วยการวัดความยาวต่างๆในการเรียนรู้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการกับโจทย์ปัญหาแล้วถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองผ่านชิ้นงานได้
- มีความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการวัดความยาว
- สามารถให้เหตุผลในการทำงานและชิ้นงาน

ทักษะการสื่อสาร
สามารถสื่อสารและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้เพื่อนและครูได้
คุณลักษณะ:
- เคารพสิทธิหน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมกิจกรรมและทำงานจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการวัดความยาว เริ่มต้นด้วยการทบทวนความเข้าใจเดิมตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่นักเรียนเรียนรู้การวัดด้วยเครื่องมือที่มีหน่วยไม่มาตรฐานใช้ในการวัดเช่นคืบ วา ศอก นิ้ว และก้าว รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆที่นักเรียนกำหนดขึ้นเองเพื่อใช้ในการวัด เช่น ข้อมือของตนเอง เมื่อนักเรียนเข้าใจเครื่องมือวัดที่มีหน่วยวัดไม่มาตรฐานแล้วก็เรียนรู้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยมาตรฐาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร สายวัด ที่วัดส่วนสูง ฯลฯ เมื่อนักเรียนทบทวนความรู้เดิมแล้วครูลองให้นักเรียนคาดคะเนความสูงของเพื่อนในห้องอีก 10 คนโดยเปรียบเทียบกับส่วนสูงของตนเอง จากนั้นวัดจริงด้วยตนเองแล้วหาความสูงที่ต่างระหว่างเพื่อนกับตนเอง ครูอยากรู้ว่านักเรียนเข้าใจการแปลงหน่วยการวัดความยาวหรือไม่โดยนำโจทย์ปัญหาการแปลงหน่วยเข้ามาใช้ เช่น 120 มิลลิเมตร เท่ากับกี่เซนติเมตร ซึ่งนัักเรียนก็สามารถอธิบายกระบวนการคิดได้ดีค่ะ

    ตอบลบ