เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "การวัด"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหน่วยการวัดต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดต่างๆได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการวัด และสร้างโจทย์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม

week4



เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 4: นักเรียนมีความรู้สึกเชิงปริมาณในการคาดคะเน และสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดน้ำหนักต่างๆที่พบเจอในชีวิตประจำวันของตนเอง และสามารถคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดน้ำหนักโดยใช้กระบวนการคิดที่หลากหลายในการให้เหตุผลเพื่อสื่อสารและนำเสนอ ตลอดจนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
4
17–21
..
2557
โจทย์: การวัดน้ำหนัก
คำถาม
- ผักกาด 3 กก.ไก่1กก.3ขีดน้ำหนักทั้งหมดเท่าไร?
- ส้ม 4 กก. 5 ขีด มุงคด2กก.8ขีดส้มหนักกว่า มังคุดเท่าไร?
- เงาะในน้ำเชื่อมหนักกระป๋องละ 540 กรัมเงาะ 6 กระป๋องหนักเท่าไร?
- ยาสีฟันหลอดใหญ่หนัก 200กรัมยาสีฟันหลอด
เล็กหนัก
50กรัม ยาสีฟัน หลอดใหญ่1หลอดเท่ากับยาสีฟันหลอดเล็กกี่หลอด
- นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวการวัดน้ำหนักอย่างไร
?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Wall Thinking
ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู(ผู้สร้างการเรียนรู้)
- นักเรียน(ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
                         วันจันทร์
ชง
- ครูพูดทักทายนักเรียน และทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
ผักกาด 3 กก.ไก่1กก. 3ขีด น้ำหนัก ทั้งหมดเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                        วันอังคาร
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ส้ม 4 กก. 5 ขีด มุงคด 2กก. 8ขีด ส้มหนักกว่ามังคุดเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                         วันพุธ
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “เงาะในน้ำเชื่อมหนักกระป๋องละ 540 กรัมเงาะ 6 กระป๋องหนักเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                      วันพฤหัสบดี
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ยาสีฟันหลอดใหญ่หนัก 200กรัม ยาสีฟันหลอดเล็กหนัก 50 กรัม ยาสีฟันหลอดใหญ่1หลอด เท่ากับยาสีฟันหลอดเล็กกี่หลอด
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                        วันศุกร์
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวการวัดน้ำหนักอย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นเองลงในกระดาษ
A4
แล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เมื่อเสร็จแล้วนำสมุดมาอธิบายวิธีคิดของตนเองกับครู
ชิ้นงาน
- แบบฝึกหัดเกี่ยวกับการวัดน้ำหนัก- โจทย์ปัญหาใหม่เกี่ยวกับการวัดน้ำหนัก
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา และสร้างโจทย์ปัญหา
- ลงมือทำชิ้นงาน


ความรู้:
- การเปรียบเทียบหน่วยการวัดน้ำหนักต่างๆ
- กระบวนการคิดที่หลากหลายในการแก้โจทย์ปัญหาการวัดน้ำหนัก
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมกับ
เพื่อนๆ และคุณครูได้
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีเคารพสิทธิซึ่งกัน
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่นทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
- สามารถคิดเชื่อมโยงหน่วยการวัดน้ำหนักต่างๆในการเรียนรู้- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการกับโจทย์ปัญหาแล้วถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองผ่านชิ้นงานได้- มีความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการวัดน้ำหนัก
- สามารถให้เหตุผลในการทำงานและชิ้นงาน

ทักษะการสื่อสารสามารถสื่อสารและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้เพื่อนและครูได้
คุณลักษณะ:
- เคารพสิทธิหน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมกิจกรรมและทำงานจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง


1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 4 นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวัดน้ำหนัก โดยครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนเครื่องมือที่ใช้ในการวัดน้ำหนัก และหน่วยของการวัดน้ำหนักมีอะไรบ้าง เมื่อทุกคนช่วยกันทบทวนเสร็จแล้ว นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจของตนเองลงในสมุด ในชั่วโมงต่อมาครูให้นักเรียนค้นหาโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดน้ำหนักมาคนละ 10 โจทย์ และลองแสดงวิธีคิดตามความเข้าใจของตนเองซึ่งนักเรียนหลายคนสามารถวิเคราะห์ที่หามาได้ดี ยังมีบางส่วนคือพี่วิว พี่ชนม์ และพี่มุกสุ ที่ยังต้องใช้เวลาบางเพื่อวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่หามาได้ครูจึงให้ทุกคนสามารถนำไปคิดต่อเป็นการบ้านได้ เมื่อมาถึงชั่วโมงต่อครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละ 1 แผ่นเพื่อให้นักเรียนเลือกโจทย์ปัญหาที่ตนเองเข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการคิดของตนเองได้จำนวน 2 ข้อ พร้อมวาดภาพตกแต่ง จากนั้นนำมาเสนอต่อครูเป็นรายบุคคลในช่วงเวลาว่าง ครูจะได้ทราบความเข้าใจของแต่ละคนมากขึ้นเพื่อพัฒนาต่อไป งานชิ้นสุดท้ายนักเรียนได้ฝึกการสร้างสรรค์โจทย์ปัญหาของตนเองจำนวน 10 ข้อเช่นกันซึ่งก็ออกมาตามความสามารถของแต่ละคนค่ะ

    ตอบลบ