เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "การวัด"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหน่วยการวัดต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดต่างๆได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการวัด และสร้างโจทย์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม

week2


     เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 2: นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาโดยใช้กระบวนการคิดที่หลากหลายในการให้เหตุผล เพื่อสื่อสารและนำเสนอ ตลอดจนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
2
3–7
..
2557
โจทย์: โจทย์ปัญหาเวลา
คำถาม
- พี่อ่านหนังสือวันละ 2 ชม. น้องอ่านน้องวันละ 1 ชม. ถามว่าพี่และน้องใช้เวลาอ่านหนังสือวันละกี่นาที?
- ในเดือน พ.. แม่ลาหยุด 1 สัปดาห์ แม่ทำงานเดือนนี้กี่วัน?
- โรงเรียนปิดเทอม 3 สัปดาห์ เท่ากับกี่วัน?
- กู้เงินปลูกบ้าน กําหนดใช้เงินคืนเป็นรายเดือนรวม 156 เดือน เท่ากับกี่ปี?
- นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวเวลาอย่างไร
?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Wall Thinking
ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู(ผู้สร้างการเรียนรู้)
- นักเรียน(ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
                         วันจันทร์
ชง
- ครูพูดทักทายนักเรียน และทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
พี่อ่านหนังสือวันละ 2 ชม. น้องอ่านน้องวันละ 1 ชม. ถามว่าพี่และน้องใช้เวลาอ่านหนังสือวันละกี่นาที
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                         วันอังคาร
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในเดือน พ.. แม่ลาหยุด 1 สัปดาห์ แม่ทำงานเดือนนี้กี่วัน
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                           วันพุธ
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “โรงเรียนปิดเทอม 3 สัปดาห์ เท่ากับกี่วัน
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                        วันพฤหัสบดี
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “กู้เงินปลูกบ้าน กําหนดใช้เงินคืนเป็นรายเดือนรวม 156 เดือน เท่ากับกี่ปี
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาใหม่ลงในสมุด และนำเสนอวิธีคิดเมื่อเสร็จกับครู
                           วันศุกร์
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวเวลาอย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาขึ้นเองลงในกระดาษ
A4
แล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เมื่อเสร็จแล้วนำสมุดมาอธิบายวิธีคิดของตนเองกับครู
ชิ้นงาน
- แบบฝึกหัดเกี่ยวกับเวลา
- โจทย์ปัญหาใหม่เกี่ยวกับเวลา
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา และสร้างโจทย์ปัญหา
- ลงมือทำชิ้นงาน


ความรู้:
- การเปรียบเทียบหน่วยเวลาต่างๆ
- กระบวนการคิดที่หลากหลายในการแก้โจทย์ปัญหา
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมกับ
เพื่อนๆ และคุณครูได้
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีเคารพสิทธิซึ่งกัน
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
- สามารถคิดเชื่อมโยงหน่วยเวลาต่างๆในการเรียนรู้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการกับโจทย์ปัญหาแล้วถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองผ่านชิ้นงานได้
- มีความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องเวลา
- สามารถให้เหตุผลในการทำงานและชิ้นงาน

ทักษะการสื่อสาร
สามารถสื่อสารและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้เพื่อนและครูได้
คุณลักษณะ:
- เคารพสิทธิหน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมกิจกรรมและทำงานจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง






ภาพกิจกรรม

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอนคณิตศาสตร์
    ในสัปดาห์ที่ 2 นักเรียนได้เรียนรู้การเปรียบเทียบเรื่องเวลาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของตนเอง โดยครูกระตุ้นด้วยการให้การบ้านนักเรียนไปหาวันเกิดของสมาชิกในครอบครัวของตนเอง มาถึงชั่วโมงแรกของการเรียนรู้ครูใช้โจทย์กระตุ้นการคิด “สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวมีอายุห่างกันเท่าไร” ภาพที่ทุกคนตั้งใจอายุที่ห่างของสมาชิกในครอบครัวของตนเอง ครูมองเห็นแล้วภูมิใจในความกระตือรือร้นเพื่อหาคำตอบที่ตนเองควรรู้เกี่ยวกับการเปรียบเทียบวันเดือนและปี จากนั้นครูเปลี่ยนโจทย์ใหม่โดยนำตารางเวลาการเดินรถไฟสายเหนือ สายใต้ และสายอีสาน มาให้นักเรียนช่วยกันหาระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งรอบนี้นักเรียนฝึกการทำงานร่วมกันทุกคนช่วยกันคิดหาคำตอบ บางกลุ่มก็สามารถหาได้ทุกข้อ แต่บางกลุ่มก็หาได้ไม่ครบแต่ครูไม่ได้สรุปว่าของกลุ่มไหนได้เท่าไร ถูก หรือผิด แต่ในชั่วโมงต่อมาครูนำโจทย์ที่ยังหาคำตอบไม่ได้นั้นมาตัดและแยกเป็นโจทย์ง่ายระดับ +10 และโจทย์ยากระดับ +20 นักเรียนประเมินความสามารถตนเอง และเลือกโจทย์ที่ต้องการโดยการจับสลากจากนั้นทุกคนนั้นโจทย์นั้นไปใคร่ควรอยู่กับตนเอง แล้วกลับมาส่งครูโดยการอธิบายความคิดพร้อมกับตอบคำถามที่ครูถามเพื่อเช็คความเข้าใจของนักเรียน แต่มีมาบางส่วนเพราะแต่ละคนใช้เวลาไม่เท่ากัน บางคน 30 นาทีได้คำตอบมองภาพออก แต่บางคนต้องถามซ้ำๆเพื่อให้ได้คำตอบที่เกิดจากการเข้าใจจริง (ครูให้นักเรียนอธิบายเป็นภาพของนาฬิกาซึ่งทำให้นักเรียนเห็นที่มาของคำตอบได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น)

    ตอบลบ