เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วย : "การวัด"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหน่วยการวัดต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถเปรียบเทียบหน่วยการวัดต่างๆได้
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการวัด และสร้างโจทย์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม

week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 6: นักเรียนมีความรู้สึกเชิงขนาดในการคาดคะเน และสามารถเปรียบเทียบหน่วยความยาวของเส้นรอบรูปที่ต่างๆที่พบเจอใช้ชีวิตประจำวันของตนเองได้
Week
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
6
1–5
..
2557
โจทย์: การหาความยาวรอบรูป
คำถาม
- นักเรียนเคยเห็นรูปร่างรูปทรงทางเรขาคณิตที่ไหนบ้าง?
- สิ่งของชิ้นนี้มีความยาวเท่าไร?
- สิ่งของชิ้นนี้มีความยาวของเส้นรอบรูปเท่าไร?
- สิ่งของในห้องของเรามีความยาวของเส้นรอบรูปเท่าไร?
- ถ้ารู้ความยาวในบางส่วนของรูปเรขาคณิตนักเรียนจะหาความยาวรอบรูปได้อย่างไร
?
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Wall Thinking
ติดชิ้นงาน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ครู(ผู้สร้างการเรียนรู้)
- นักเรียน(ผู้ร่วมเรียนรู้)
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
                         วันจันทร์
ชง
- ครูพูดทักทายนักเรียน และทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “
นักเรียนเคยเห็นรูปร่างรูปทรงทางเรขาคณิตที่ไหนบ้าง
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนสรุปสิ่งของที่มีรูปร่างรูปทรงเป็นรูปเรขาคณิตที่พบเห็นในชีวิตประจำวันผ่านชิ้นงานที่ตนเองอยากทำเช่น
Mind Mapping, การ์ตูนช่อง, Web เป็นต้น
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานให้เพื่อนและครูฟัง
                         วันอังคาร
ชง ครูนำสิ่งของที่นักเรียนตอบในชั่วโมงที่แล้วมาตั้งคำถามอีกรอบ “สิ่งของชิ้นนี้มีความยาวเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยการคาดคะเนความยาวผ่านเครื่องมือคิด(
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนลองคาดคะเนสิ่งของทุกชิ้นที่ครูนำมา แล้วใช้เครื่องมือวัดจริงสิ่งของทุกชิ้นอีกครั้งหนึ่งโดยทำลงในตารางบันทึกผลการทดลอง
                            วันพุธ
ชง ครูนำสิ่งของที่นักเรียนวัดความยาวในชั่วโมงที่แล้วมาตั้งคำถามอีกรอบ “สิ่งของชิ้นนี้มีความยาวของเส้นรอบรูปเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยการคาดคะเนความยาวรอบรูปของสิ่งของผ่านเครื่องมือคิด(
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนลองคาดคะเนความยาวรอบรูปสิ่งของทุกชิ้นที่ครูนำมา แล้วใช้เครื่องมือวัดจริงสิ่งของทุกชิ้นอีกครั้งหนึ่งโดยทำลงในตารางบันทึกผลการทดลอง
                        วันพฤหัสบดี
ชง ในชั่วโมงต่อมาครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “สิ่งของในห้องของเรามีความยาวของเส้นรอบรูปเท่าไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด(
Blackboard Share)
ใช้ นักเรียนทุกคนสำรวจสิ่งภายในห้องจำนวน 10 อย่างบันทึกผลลงตารางที่ทำในสมุด  แล้วมานำเสนอร่วมกันหน้าชั้นเรียน
                           วันศุกร์
ชง ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ถ้ารู้ความยาวในบางส่วนของรูปเรขาคณิตนักเรียนจะหาความยาวรอบรูปได้อย่างไร
เชื่อม นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด(
Blackboard Share)
ใช้
- นักเรียนทำโจทย์ใหม่โดยครูให้รูปเรขาคณิตที่บอกความยาวบางส่วนมา แล้วให้หาความยาวรอบรูปของภาพทำลงในสมุด
- ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกระบวนการคิดเพื่อได้มาซึ่งคำตอบผ่านเครื่องมือคิด (
Blackboard Share)

ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งของที่มีรูปร่างรูปทรงเป็นรูปเรขาคณิตที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
- ตารางบันทึกผลการทดลองวัดความยาวรอบรูปของสิ่งของ
ภาระงาน
 - แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ
รูปร่างรูปทรงเป็นรูปเรขาคณิตที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคิดเพื่อหาคำตอบที่หลากหลาย
- นำเสนอชิ้นงาน
ความรู้:
- รูปร่างของเรขาคณิต 2 มิติ และรูปทรงของเรขาคณิต 3 มิติ
- การหาเส้นรอบรูปของรูปเรขาคณิต
2 มิติ  
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมกับ
เพื่อนๆ และคุณครูได้
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมีเคารพสิทธิซึ่งกัน
- รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
- สามารถคิดเชื่อมโยงหน่วยการวัดความยาวต่างๆในการเรียนรู้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการกับโจทย์ปัญหาแล้วถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองผ่านชิ้นงานได้
- มีความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการวัดความยาวรอบรูปจากโจทย์ที่ครูให้ได้
- สามารถให้เหตุผลในการทำงานและชิ้นงาน

ทักษะการสื่อสาร
สามารถสื่อสารและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้เพื่อนและครูได้
คุณลักษณะ:
- เคารพสิทธิหน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- อดทนในการร่วมกิจกรรมและทำงานจนเสร็จ
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ โดยครูเริ่มจากการเล่นเกมสร้างภาพรูปร่างอิสระจากการลากเส้นผ่านจุดต่างๆ เมื่อเสร็จแล้วระบายสีพร้อมกับบอกจุดรอบรูป จุดภายใน และพื้นที่ของรูป ซึ่งจากการทำกิจกรรมนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลจากภาพของตนเอง ทำให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของรูปภาพเกิดขึ้นคือจุดภายในมีผลกับพื้นที่ ยิ่งจุดภาพในมากพื้นที่ก็จะมากเช่นชิ้นงานของพี่พลอยที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีจุดรอบคือ 8 จุดภายในถึง 5 จุด ทำให้มีพื้น 8 มากที่สุดเมื่อเทียบกับรูปที่มีจุดรอบเท่ากัน ซึ่งครูลองทบทวนการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมที่นักเรียนเคยเรียนมาในรับดับชั้น ป.3 ทุกคนสามารถตอบได้ว่ารูปสี่เหลี่ยมหาได้จากนำด้านกว้างมาคูณกับด้านยาว หรือด้านยาวคูณกับด้านกว้างก็สามารถหาพื้นที่ได้เช่นกัน ส่วนสามเหลี่ยมนั้นมีขนาดเป็นสองเท่าของรูปสี่เหลี่ยมจึงหาพื้นที่ได้คือ ต่อเติมภาพให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อใช้ในการมองด้านจากนั้นนำด้านกว้างคูณด้นยาวแล้วหารด้วยสองหรือแบ่งครึ่งเท่าๆกันก็จะได้พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่เป็น 1/2 ของรูปสี่เหลี่ยมนั้นเองค่ะ
    อาทิตย์หน้าเพื่อสร้างความเข้าใจอีกครั้งครูจึงหากิจกรรมที่ทำให้นักเรียนมองเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดก่อนที่จะมาลงถึงสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมในขั้นต่อไป

    ตอบลบ